Tamnan Phra Bat Phra That (Phra Chao Liap Lok) - ตำนานพระบาทพระธาตุ (ตำนานพระเจ้าเลียบโลก)

Back to the list
Identification
Inv No: 
019_003
Bundles: 
11
Category: 
Tamnan
Textual datas
Original titles (Thai script): 
Phuk 1: ตำนานพระเจ้าถปันนาธาตุบาท, ตำนานพระบาทแลธาตุ, ตำนานพระเจ้าเลียบโลก. Phuk 4: ตำนานธรรมพระโลกเลียบ, ตำนานธาตุ. Phuk 5: เลียบโลก, ตำนานเลียบโลก. Phuk 6: ตำนานพระบาทเลียบโลกเจ้า. Phuk 7: พระเจ้าทำนายพระบาท, ธาตุ. Phuk 9: ธาตุพระบาทพระเจ้าเลียบโลก.
Uniform Thai title: 
ตำนานพระบาทพระธาตุ (ตำนานพระเจ้าเลียบโลก)
Uniform title (transliterration): 
taṃnān braḥ pāda braḥ dhatu
Uniform title (transcription): 
Tamnan Phra Bat Phra That (Phra Chao Liap Lok)
Scribe Thai script: 
Phuk 4: ทุปู่ไชย [พระภิกษุปู่ไชย]. Phuk 6: อิธิมาภิกขุ เขียนเมื่ออยู่วัดหนองเงือก [วัดหนองเงือก ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน]. Phuk 7: เอชสฬญภิกขุ. Phuk 9, 10: สิทธิภิกขุ.
Donator / sponsor (Thai script): 
Phuk 2: สมเด็จเจ้ามหาชีวิต [เจ้าผู้ครองเมืองน่าน]
Era (text): 
?
Date (manuscript): 
1220
Era (manuscript): 
CS
Date (AD): 
1858
Calendar Thai script: 
Phuk 1: เดือน 11 เพ็ง ยามก่อนช้าย. Phuk 2: ปีกดสัน เดือนเจียง. Phuk 3: ยามกลองงาย. Phuk 5: จุลศักราช 1220 ตัว [พ.ศ. 2401] ปีเปิกสะง้า เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ วัน 3 [อังคาร] ไทยรวายเส็ด ยามแตรขึ้นสู่
เที่ยง. Phuk 6: จุลศักราช 1220 ตัว ปีเปิกสะง้า เดือน 11 แรม 7 ค่ำ วัน 4[พุธ] ยามกลองงาย. Phuk 7: จุลศักราช 1220 ตัว ปีเปิกสะง้า เดือน 12 ขึ้น 11 ค่ำ วันจันทร์ ไทยเปิกไจ้ ยามกลองงาย. Phuk 9: เดือน 12 ขึ้น 8 ค่ำ วัน 4 [พุธ] ไทยเต่าไจ้ ยามก่อนงาย. Phuk 10: วัน 7 [เสาร์] ไทยเต่่าเส็ด ยามกลองงาย.
Original repository (Thai script) / scribe place: 
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (possibly เขียนเมื่ออยู่วัดหนองเงือก [วัดหนองเงือก ตำบลแงง อำเภอปัว จังหวัดน่าน]).
Beginning and end: 
Phuk 1:
a. มหาการุณิโก นาโถ หิตาย สพฺพปารมี สพฺพปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํติ สาธโว ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย มหาการุณิโก
นาโถ อันว่าพระพุทธเจ้าแห่งเราทั้งหลายตนประกอบด้วยมหากรุณาในสัตว์โลกทั้งหลายมากนัก ปูเรตฺวา ก็พ่ำเพ็งแล้ว
ปารมี สพฺพา ยังบารมีธรรมทั้งมวลอันได้ 30 ทัศ กับทั้งมหาบริจาคทานอันใหญ่ 5 ประการ กับจริยา 3 ประการ กับทั้ง
สุจริตธรรม 3 ประการ เสี้ยงกาลอันนานได้ซาวอสงไขยปลายแสนมหากัป…
z. …ยังมีอรหันตาเจ้า 7 ตนจึงนำเอาธาตุเข้ามาจุไว้ในประเทศยางจวงที่นี้ด้วย ด้วยดั่งพระพุทธเจ้าหากทำนายไว้นั้นพร้อม
กับด้วยท้าวพระยา เสนาอำมาตย์แลชาวเมืองทั้งหลายมากนักมาขุดขุมลึกได้ 7 วาไว้หื้อเป็นที่ไหว้แก่คนแลเทวดาทั้งหลาย
แล ยังมีเทวดาตน 1 ชื่อว่าดาหัสสักกะ อยู่รักษาธาตุแลพระบาทเจ้าแล เทวดาตนนั้นหากเป็นหลานพระยาอโศกธรรมราชา
นั้น ท่านตายจากอันเป็นหลานพระยาอโศก ลวดได้มาเป็นเทวดาอยู่รักษาธาตุแลพระบาทยางจวงที่นั้นก็มีแล…
Phuk 2:
a. นโม ตสฺสตฺถุ เอกํ สมยํ สตฺถา ธรมาโน ชนปทจาริกํ จรมาโน ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย สตฺถา อันว่าสัพพัญญูพระพุทธเจ้า
ตนเป็นครูแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย อันยังธรมานตั้งอยู่ หื้อแล้วพุทธกิจ 5 ประการ เอกํ สมยํ ในกาลคาบ 1 พระพุทธเจ้า
ตนมีมหากรุณาก็เอาอรหันตากับทั้งมหาอานนท์เถรเจ้า แม้นพระยาอินทร์แลพระยาอโศกตนเป็นเจ้าเมืองกุสินาราก็ไปเป็น
อุบาสกแห่งพระพุทธเจ้าก็จระเดินไปโผดสัตว์ทั้งหลายลำดับนิคมราชธานี ก็เข้าไปรอดไปถึงในเมืองระแวก…
z. …เหตุว่าทิศหนใดคนก็หลั่งเข้ามาบูชาธาตุเจ้าเรื่อเรืองงามมากนักหั้นแล เหตุดั่งอั้นอาจารย์เจ้าจึงขอดเป็นคาถาไว้ว่า
สิงฺคุตฺตเร รมฺเมก กุสนฺโธ สตฺถาวาโห ธมฺมกรณํ ฐเปติ โกนาคมโน ธมฺมปชฺโชโต สุวณฺณทณฺฑํ ฐเปติ กสฺสโป สิริสมฺปนฺโน
สุวณฺณจีวรํ ฐเปติ โคตโม สากฺยปุงฺคโว โลกหิตาย อฏฺฐเกสญฺจ ฐเปติ จตฺตาโร เต มหาธาตุโย อหํ วนฺทามิ สิรสา เตสํ
เยว คุเณน สพฺพทุกฺขา ปมุญฺจิสฺสามิ ดังนี้ ไปชู่วันชู่คืนไจ้ๆ ก็เที่ยงจักได้ถึงสุข 3 ประการ มีนิพพานเป็นยอดบ่อย่าชะแล…
Phuk 3:
a. นโม ตสฺสตฺถุ เอกํ สมยํ สตฺถา ชนปทจาริกญฺจรมาโน สาธโว ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย เอกํ สมยํ ยัง(มี)ในกาลคาบ 1
สตฺถา อันว่าสัพพัญญูพระพุทธเจ้าตนเป็นครูแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย ก็บังเกิดมหากรุณามักใคร่สั่งสอนโผดสัตว์โลกทั้งหลาย
ก็เอาภิกขุสังฆะอรหันตาทั้งหลาย มีมหาอานนทเถรเจ้าเป็นปัจฉาสมณะกับทั้งพระยาอินทาธิราชถือฉัตรกั้งภายบน ก็จระเดิน
เทสซึ่งอันจระเดินในชนบทราชธานีก็ไปสู่เมืองสุวรรณภูมิ แล้วไปสู่เมืองจำปานคร ไปสู่เมืองทวารวัตติ…
z. …เมื่อเทวดา อินทร์ พรหมลงมาบูชามหาธาตุเจ้านั้นหากยิ่งปรากฏรสหอมด้วยคันธะของหอมอบรมทั้งมวล ประการ 1
ปรากฏได้ยินเสียงตุริยนนตรีฆ้องกลองเป็นต้น เหตุเขาเจ้ามาสงเสพบูชาธาตุเจ้าแล บุคคลอย่ากระทำอนาทร อย่าเสีย
อันร้ายตกใกล้เขตอาณาน้ำบ่อที่นั้นบ่ดี เทวดาบ่พึงใจย่อมกระทำหื้อเป็นภัยแล บุคคลผู้ใดได้ไหว้แลบูชาคารวะครบยำ
ธาตุเจ้าดังกล่าวมานี้ ก็จักหื้อแล้วยังโลกียสุขในเมืองคนแลชั้นฟ้าตราบถึงนิพพานบ่อย่าชะแล…
Phuk 4:
a. วนฺทิตฺวา สิรสา พุทฺธํ สทฺธมฺมํ คณุตฺตมํ อิทมฺปิ ปาทสารีริกธาตุกถํ วกฺขามีติ สาธโว ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ทีนี้
เราจักกล่าวตำนานพระบาทเจ้าแลสรีรธาตุพระเจ้าอันมาถปันนาไว้ในเมืองทั้งหลายนั้นหื้อแจ้ง ผู้มีปัญญาพึงรู้ด่ังเราจัก
วิสัชนาไปหน้านี้เทอะ เอกํ สมยํ ยังมีในกาลคาบ 1 คือ ในกาลเมื่อพระพุทธเจ้าได้เทศนาได้ตรัสปัญญาสัพพัญญูเป็นพระ
แล้วเทศนาสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายไจ้ๆ นานได้ซาว 5 วัสสา…
z. …เสลปพฺพตฐานํ ฐานะที่นี้ภายหน้าจักปรากฏว่าศิลาผาแรมหมื่นชะแล ไผมาหันก็จักว่าดอยผาแรม ชะแล แม่น้ำอันนี้
ก็จักได้ชื่อว่าแม่น้ำพระเจ้ามานอนแรม หมื่นชะแล เมืองอันนี้ก็จักได้ชื่อว่า เมืองพระเจ้ามานอนแรมหมื่นชะแล เมืองอันนี้
คนใจบาปหาศีลบ่ได้แลมาอยู่ก็บ่ได้ชะแล บ่วุฒิจำเริญแล เหตุเทวดาอารักษ์บ่พึงใจนั้น จักกระทำหื้อเป็นอันตรายมากนัก
ชะแล พระพุทธเจ้าทำนายฉันนี้แล้ว ตกวันลุนรุ่งเช้าก็เสด็จไปสู่ทิศหนลวงงิมพู้นก็มีแล…
Phuk 5:
a. ตตฺร ภควา สิลายํ ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ภควา อันว่าพระพุทธเจ้าก็อยู่สำราญในศิลาผาแรมที่นั้น
ตามกาลควรแล้ว ในวันเดือน 4 ออกค่ำ 1 ก็เสด็จออกจากผาแรมที่นั้นไปรอดที่ 1 คนทั้งหลายก็มาไหว้แลบูชาพระพุทธ-
เจ้าแล้วกล่าวว่า ภนฺเต ข้าแด่พระพุทธเจ้า ผู้ข้าทั้งหลายอยู่บ้านเล็กเมืองน้อยจักหาสังกินสังทานบ่ได้ น้ำก็บ่มีปลา ไร่นาก็บ่
มีข้าวมักว่าบ่ได้ข้าว ไร้ยากเข็ญใจหาสังกินสังบ่ได้ ผู้ข้าทั้งหลายก็เท่านับอยู่แงมๆ ง่อมๆ หาสังมากินดิบก็บ่ได้…
z. …เทียวไปทางบกก็ดี ครั้นมาถึงหาดผาคำที่นั้น หื้อได้ไหว้แลสักการบูชาพระบาทแลบูชาพระยานาคจึงไปดีมาดีชะแล
ครั้นบ่บูชาก็บ่พึงใจ เทวดาอารักษ์จักล่มเรือล่มแพเสียชะแล แม่นเทียวทางบกก็จักเป็นภัยอันตรายชะแล ผิกระทำอนาทร
ผิดอารักษ์ที่นั้นแล บ่บูชาหื้อชาหื้อชอบหื้อดี แม่นไปเย็ดสร้างไร่นาก็บ่สมริทธีเพื่ออารักษ์ไปบีบเบียนชะแล พระพุทธเจ้า
ก็ทำนายพระบาทหาดน้ำผาคำแลพระบาท 2 รอยไว้บ้านเสี้ยวบ้านฝายฉันนี้ก็มีแล…
Phuk 6:
a. นโม ตสฺสตฺถุ ตโต ภควา พฺยากรณมกาสึ จตฺตาโร เต วา(ณิชา นาวา)ยํ อาสนํ ปญฺญาเปตฺวา ภควนฺตํ อภิราธยีติ
ดูราโสตุชนะ สัปปุริสะทั้งหลาย ภควา อันว่าพระพุทธเจ้าก็กระทำแล้วยังอันทำนายทายยังพระบาทเจ้าอันมีในหาดผาคำ
ดีดังนี้ ก็มีแล จตฺตาโร เต วาณิชา อันว่าพ่อค้าทั้ง 4 คนนั้น เขาก็เอาผ้าทบเป็นอาสนะไปปูไว้เรือแห่งเขาดีแล้ว ก็พร้อม
กันราธนาพระพุทธเจ้าแลอรหันตาเจ้าขึ้นสำราญเหนือเรือที่นั้นแล้ว…
z. …ส่วนภัทรกัปอันนี้ก็ครึ่งในกาลยามนั้นแล มักว่าเป็นเกิ่งภัทรกัปในที่นั้นหั้นแล อธิบายยัตถะเทศนาก็มีดังนี้แล พระ
พุทธเจ้าเทศนาแก่มหาอานนท์เถรด้วยประการดังนี้แล้ว มหาอานนท์เถรเป็นต้น อรหันตาแลพระยาอินทร์ พระยาอโศกแล
เทวดาอารักษ์ทั้งหลายได้สดับรับฟังธรรมเทศนาฉันนี้แล้ว กระทำสาธุการซึ่งธรรมเทศนาแล้วบูชาตามสติกำลังแห่งตนก็
มีวันนั้นแล …
Phuk 7:
a. ปุน ทิวเส ภควา ตตฺถ ปิณฺฑาย จาริกํ ปตฺตจีวรมาทาย ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา สงฺฆาฏิจีวรํ ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย
ฝูงนั้น ปุน ทิวเส ในวันลุนน้ัน คืนในวันเดือน 5 ออกค่ำ1 นั้น ภควา พระพุทธเจ้าก็ลุกในกาลเมื่อเช้าแล้วนุ่งคุมผ้าสังฆาฏิจีวร
แล้วก็ถือเอาผ้าแลบาตรเพื่อไปจระเดินบิณฑบาตข้าว ก็เสด็จออกจากดอยผาอันเป็นรูปช้างสารนั้นแล้ว จระเดินเข้าไปเอา
ข้าวบิณฑบาตด้วยลำดับบ้านลำดับเรือน ก็ไปถึงบ้านอัน 1 ชาวบ้านอันนั้นหันพระพุทธเจ้ามาบิณฑบาต…
z. …พระเจ้าทำนายฉันนี้แล้วก็เสด็จไปสู่ด่านทัมมิละ ข่า ว้าทั้งมวลแล้วก็สั่งสอน เขาทั้งหลายก็บ่ฟัง บ่ละมิจฉาเขาเสียได้
พระเจ้าสอนก็บ่ได้ ก็เสด็จไปจากด่านทัมมิละ ข่า ว้า ก็มารอดเมืองแช่ ก็มาไว้พระบาทเชียงผาแล้ว ก็มาไว้พระบาทแดน
เมืองมาง แล้วก็เสด็จออกไปจากเมืองมางไปเมตตาทัมมิละ ข่า ชาวดอยแลชนบทบ้านเมืองในเมืองเขมรัฐ คือ เชียงตุง
คือละแวกแคว้นเมืองเขินทั้งมวล ชู่แห่งก็ย่ำไว้ยังพระบาทตามอันควรเพื่อหื้อเป็นที่ไหว้แลบูชาแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย
ก็มีแล…
Phuk 8:
a. นโม ตสฺสตฺถุ โยนกโลกสฺมึ ภควา จาริกญฺจรติ ดูราโสตุชนะสัปปุริสะทั้งหลาย พระพุทธเจ้าแห่งเราก็เอาอรหันตา
แลพระยาอินทร์ พระยาอโศกไปจระเดินโผดสัตว์แลคนทั้งหลายในเมืองเขมรัฐชุแห่งแล้ว ก็เสด็จเข้ามาในละแวกแคว้น
เมืองโยนกโลก คือ เมืองยวน ก็มีแล พระพุทธเจ้าก็เข้าไปถึงเมืองพยาก ไปถึงแม่น้ำที่ 1 ชื่อพยัคฆนที คือ แม่น้ำพยาก
แล พระพุทธเจ้าก็สีฟันซ่วยหน้าแลนั่งอยู่ในที่นั้น ยังมีชาวทัมมิละผู้ 1 มันจระเดินไปป่า…
z. …วันตกช้วยหนเหนือเมืองอางวะนั้นตน 1 คือจุฬกัสสปเถรน้อยตน 1 เมือนิพพานในระหว่างดอยเมืองมิถิลา คือเมือง
ห้อ เมืองแส บัดนี้ตน 1 แล คืออัสสชิเถรแลอตุลเถร 2 ตนนี้นิพพานในที่ดอยพระบาทผาน้อยเมืองลา ที่หัวแคว้นลอแล้ว
เอาใส่หีดผาแก้วไว้นั้น 1 แล พระยาอินทร์ก็เมือพิจารณารักษาคราบมหาเถรเจ้าทั้ง 2 ในถ้ำพระบาทผาน้อยที่นั้นดีแล้วก็
สยองไปลวงบนหนอากาศ ก็ไปเขิ็ดทันพระพุทธเจ้าที่ดอยเก้ิงเชียงใหม่ที่ 1 เล่า ก็มีวันนั้นแล…
Phuk 9:
a. นโม ตสฺสตฺถุ ตตฺถ สตฺตาโห ภควา คนฺตฺวา อญากรสฺมึ ปเทเส สมฺปตฺโต ภควา ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ภควา อันว่า
พระพุทธเจ้าก็อยู่ในดอยเกิ้งที่นั้นนานได้ 7 วันแล้วก็เสด็จลงจากจอมดอยที่นั้น ก็ไปตามราวป่าอัน 1 แล้วลงไปสู่แม่น้ำ
ระมิงค์ คือว่า แม่น้ำพิงค์นั้น แล้วก็เลียบไปด้วยฝั่งน้ำขึ้นเมือภายเหนือหมื่นวา ก็มาจวบพบลัวะผู้ 1 มันแปงหลุกควงผัด
น้ำขึ้นใส่นาข้าวดอ คือ นาเจียง ลัวะผู้นั้นหันพระพุทธเจ้ามาที่นั้น…
z. …เทวดา อินทร์ พรหม เทพคณะทั้งหลายก็จักพร้อมกันมาอุสสาภิเษกเจ้าตนมีบุญนั้น หื้อเป็นพระยาธรรมิกราชหื้อได้
เสวยทิพย์สมบัติในเวียงเชียงดาวที่นั้นแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักไปนำเอานางแก้วอุดรโข มาหื้อเป็นนางอัครมเหสีเทวีแก่
ธรรมิกราชหมื่นชะแล กวางคำแลกระตายอันเป็นเทวนิมิตนั้นก็มาปุจฉาวิสัชนาซึ่งกันฉันนี้ ก็จักสั่งอำลากันแล้ว ต่างคน
ก็ต่างหนีไปสู่ที่อยู่แห่งตนหมื่นชะแล พระพุทธเจ้าก็เทศนาทำนายหื้อพระยายักขราชได้ฟังฉันนี้ ก็มีวันนั้นแล…
Phuk 10:
a. นโม ตสฺสตฺถุ เอกํ สมยํ ภควา จาริยํ ปพฺพเต วิหรนฺติ อถ โน สกฺโก นวเทโว วิทิตฺวา เตสํ ปุญฺญํ ปุจฺฉิตฺวา เทวโลกโต
โอกริตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ปุจฺฉิ สตฺถารํ ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ยังมีในกาลคาบ 1 พระพุทธเจ้าอยู่สำราญเข้าวัสสา
ในดอยจาริบรรพตแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสปัญญาเป็นพระมาได้ซาววัสสานั้นแล อถ ในกาลเมื่อนั้น พระยาอินทาธิราชได้ยิน
ธรรมเทศนาพระพุทธเจ้าแล้วก็รู้ว่ากระทำบุญในพุทธศาสนามีอานิสงส์มากนัก…
z. …เลิกศาสนาพระสัพพัญญูเรืองราบตั้งอยู่ตราบเมินนานยามปานกลางที่ครึ่งในที่กึ่ง 3 พันวัสสา สืบปรัมปราแต่เค้าตราบ
ต่อเท่าชุมนุมธาตุเป็นปริโยสานหมื่นชะแล สกฺโก เทวราชาปิ วตฺวา จ ปน สคฺคกายํ อปฺปกฺกามีติ สกฺโก อันว่าอินทาธิราช
ตนเป็นเจ้าแก่เทวดาทั้งหลาย ครั้นบอกกล่าวคำเท่านี้แก่เจ้าฤษีตนชื่ออินทาสมภาร ตนอยู่ดอยเขาคำหลวงในเมืองหริภุญชัย
นครนั้นแล้ว ก็เสด็จขึ้นเมือสู่ชั้นฟ้าแก้วอันเป็นที่อยู่แห่งตน ก็มีวันนั้นแล…
Phuk 11:
a. จวิตฺวาน ตโต กายามาตุปฏิสนฺธิ ปสิเหตฺวา มหามายาย เทวิยาย กุจฺฉิมฺหิ ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย พระพุทธเจ้าแห่ง
เราจุติจากชั้นฟ้าดุสิตสวรรค์เทวโลกก็ลงมาเอาปฏิสนธิในท้องแห่งนางศรีมหามายาเทวีในปีก่าเร้า เดือน 9 เพ็ง ฤกษ์ได้ 20
ตัว อยู่ในท้องแม่นานได้สิบเดือนแล้ว ก็ออกมาจากท้องแม่ในปีกาบเส็ด เดือนวิสาขาเพ็ง คือ เดือน 8 เพ็ง เม็งวัน 6 ฤกษ์ได้
11 ตัว ศักราชได้ 43 ตัว ในกาลเมื่อเจ้าได้เสวยราชสมบัติเป็นพระยาในปีเมิงเป้า…
z. …จักสมริทธีบัวรมวรด้วยข้าวของ เงินคำ ข้าวเปลือก ข้าวสารของเลี้ยงของดู (มี)เดชริทธีมากนัก ก็จักหื้อถึงสุขชั่วนี้ชั่วหน้า
ยิ่งกว่าคนแลเทวดาทั้งหลายชะแล แม้นสมภารแก่กล้าก็จักได้ถึงนิพพานในศาสนาพระพุทธเจ้าโคตมะนี้ดีหลีแล แม้นสมภาร
บ่กล้าบ่แก่ยังท่วนเทียวไปมาในวัฏสงสาร ก็บ่ได้ไปเกิดในอบายทั้ง 4 สักคาบตราบได้หันหน้าพระอริยเมตเตยยเจ้าแล้ว ก็
จักได้ถึงมรรคผลธรรมในสำนักพระพุทธเจ้าตนนั้นแท้ บ่สงสัยชะแล…

Foliation / pagination: 
Phuk 1: 1B-23B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-11B ก ต้น-ก ปลาย, 12B-22B ข ต้น-ข ปลาย, 23B คะต้น.
Phuk 2: 1B-23B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-12B ต ต้น-ต ปลายและ ถ, 13B-23B ถา-ถํ.
Phuk 3: 1B-20B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-10B อ-อํ, 11B อ แล้ว ก, 12B-20B ก-โก.
Phuk 4: 1B-21B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-13B ตั้ง ต-ต ปลาย, 14B-17B ตั้ง ตฺถ-ตฺถี, 18B-21B ถุ-เถา.
Phuk 5: 1B-24B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-12B ตั้ง ช-ช ปลาย, 14B-24B ซ-ซํ.
Phuk 6: 1B-27B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B อ-โอ, 9B-27B ก-ธ.
Phuk 7: 1B-27B (alphabetical order in Northern Thai with Northern Thai figures) 1B-13B ก-กะ 13, 14B ตั้ง ข, 15A ขา, 16B-27B ขิ-ข (ปลาย).
Phuk 8: 1B-22B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-9B ก-ไก, 14B-18B ไต-ตะ, 19B-22B ถ-ถี. 1B-22B (Northern Thai figures) 1B-9B 1-9, 10A-13A 2-5.
Phuk 9: 1B-26B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B อ-โอ, 9B-22B ก-ก ปลาย, 23B-26B ข-ขี.
1B-26B (Northern Thai figures) 1B-9B 1-9, 10B สิบ, 11B-19B 11-19, 20B ซาว, 21B ซาวเอ็ด, 22B-26B
ซาว 2-ซาว 6.
Phuk 10: 1B-21B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B ขู-ข ปลาย, 9B-21B ค เค้า-ค ปลาย, 1B-21B (Northern Thai figures) 1B ซาว8, 2B ซาว9, 3B 3สิบ, 4B 3สิบเอ็ด, 5B-12B 32-39, 13B 4สิบ, 14B 4สิบเอ็ด, 15B-21B 42-48.
Phuk 11: 1B-23B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B อ-โอ, 9B-23B ก-น.