History – ประวัติ

This project aims at making available to the scientific community the widest possible corpus of vernacular “chronicles” in Thai/Tai language kept in the libraries (ho tham) of the Buddhist monasteries of northern Thailand. By providing open access to the corpus database, we hope to promote and facilitate multi-disciplinary research (manuscriptology, codicology and Buddhist literature) in this specific field of Thai studies.    

                                                                                                                           

The project was launched in 2005 in the premises of the Siam Society in Bangkok. We needed to test the procedures we had devised for the digitalization of manuscripts. The rich manuscript library of the Society placed under the responsibility of Achan Term Mitem, a well-known specialist from the National Archives of Thailand, provided an ideal venue for such a ‘pilot’ project. We digitized seventeen manuscripts — all tamnan — from the library, and they are the first documents of our collection (from 001_001 to 001_017).

Between 2006 and 2011 we did numerous field-trips, scouting Northern Thailand province by province. The Princess Mahachakri Sirindhorn Anthropology Centre in Bangkok, an institute under the supervision of the Thai Ministry of Culture, provided the official backing that enabled us to gain access to the collections stored in local repositories.

After visiting hundreds of monasteries, we selected forty-one of them either for their rich collections or for their rare manuscripts [click here to access the complete list of selected monasteries]. In each monastery, the manuscripts deemed worth being integrated into the corpus were studied and photographed in situ. No copies were ever displaced or borrowed. These manuscripts constitute now the main bulk of our database with over 350 entries (002_001 to 042_005).

Descriptive records containing textual and paratextual information on the manuscripts were first entered in text files, and later integrated into a prototype database. Then, in Paris, the EFEO provided support for transforming the original database into a MySQL Internet database, which took shape in 2013. Then the photographs of all the leaves of each manuscript were edited and inserted into the viewer component of the database (19,224 items at the latest count). Thumbnail images of the titles were inserted in every record and series of supplementary photographs relating to monasteries, libraries and conservation of the manuscripts, were added in the form of albums.

โครงการตำนาน  -  ประวัติ

วัตถุประสงค์ของ “โครงการตำนาน” นี้ กล่าวคือ รวบรวมและจัดเรียงข้อมูลเกี่ยวกับคัมภีร์ท้องถิ่นในภาษาไทย/ไตซึ่งเก็บรวบรวมอยู่ในหอธรรมของวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ เป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในฐานข้อมูลกลาง ทั้งนี้เพื่อให้แวดวงวิชาการสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก ทีมงานหวังว่าการเปิดฐานข้อมูลเพื่อให้เข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัดนี้จะช่วยส่งเสริมการวิจัยแนวสหวิทยาการ (โดยอาศัยสาขาวิชา manuscriptology, codicology หรือการศึกษาวรรณกรรมทางพุทธศาสนา เป็นต้น) ด้วย

โครงการตำนานเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2548 ที่ห้องสมุดของสยามสมาคม ห้องสมุดของสยามสมาคมนั้นเก็บรักษาเอกสารโบราณเป็นจำนวนมาก ภายใต้ความรับผิดชอบของอาจารย์เทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ด้วยเหตุผลนี้ ทีมงานจึงมองว่าสถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันอันเหมาะสมในการจัดทำโครงการต้นแบบเพื่อการทดสอบระเบียบวิธีซึ่งคิดค้นขึ้นใหม่สำหรับการรวบรวมข้อมูลและทำสำเนาภาพถ่ายดิจิตอลคัมภีร์ใบลานอย่างเป็นระบบ ทีมงานได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับคัมภีร์ในประเภท “ตำนาน” ทั้งหมด 17 ผูกจากที่มีอยู่ในห้องสมุด  สำเนากลุ่มนี้เป็นคัมภีร์ดิจิตอล 17 รายการแรกในฐานข้อมูลของโครงการ (มีเลขเรียก 001_001 ถึง 001_017)

ต่อมาในระหว่างปี พ.ศ. 2549 ถึง พ.ศ. 2554 ทีมงานได้่ลงสำรวจในจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร องค์กรมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวัฒนธรรมให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการต่อการเข้าถึงแหล่งคัมภีร์ท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด

หลังจากการลงพื้นที่สำรวจวัดเป็นจำนวนมาก ในขั้นตอนแรก ทีมงานได้ทำการคัดเลือกหอธรรมจำนวน 41 แห่งจากกลุ่มวัดดังกล่าว โดยพิจารณาจากความหลากหลายหรือจากความเฉพาะของกลุ่มคัมภีร์ที่มีอยู่ [ดูรายชื่อวัดที่ได้รับเลือกที่นี่] ต่อมา ทีมงานจึงได้ศึกษาและบันทึกคัมภีร์เหล่านั้นเป็นสำเนาภาพถ่ายดิจิตอลโดยไม่ได้มีการโยกย้ายหรือหยิบยืมคัมภีร์ฉบับใดออกไปจากสถานที่เก็บเดิม สำเนาคัมภีร์ใบลานกลุ่มนี้มีจำนวนรวมมากกว่า 350 รายการ (002_001 ถึง 042_005)

สำหรับข้อมูลในเชิงพรรณนาของทั้งตัวบทและบริบทของคัมภีร์เรื่องต่างๆ นั้น ลำดับแรกทีมงานได้ทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคัมภีร์แต่ละใบในโปรแกรมประมวลผลคำ (text file) และหลังจากนั้นได้นำข้อมูลดังกล่าวลงในฐานข้อมูลต้นแบบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 ทีมงานได้ทำการโยกย้ายข้อมูลดังกล่าวลงในฐานข้อมูลอินเตอร์เน็ต ระบบ MySQL ภายใต้การสนับสนุนของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (École française d’Extrême-Orient) สำนักงานใหญ่ในกรุงปารีส ท้ายที่สุด รูปถ่ายใบลานแต่ละใบในแต่ละเรื่องคัมภีร์จึงได้้รับการตัดต่อและจัดเรียงเข้าไว้่ในหน่วยขยายภาพ (viewer component) ของคลังข้อมูลใหม่ ปัจจุบันมีใบลานดิจิตอลนับรวมได้ถึง 19,224 ใบ ทั้งนี้ นอกจากรูปย่อ (thumbnails) ตัดเฉพาะส่วนชื่อเรื่องจะถูกใส่ไว้คู่กับข้อมูลในเชิงพรรณนาของคัมภีร์ใบลานเรื่องต่างๆ แล้ว รูปถ่ายวัด หอธรรม และกระบวนการอนุรักษณ์คัมภีร์ผูกต่างๆ ยังได้ถูกรวบรวมไว้เป็นอัลบั้มภาพต่างหากด้วย (ดู “Album List”)