Buddha Tamnan (Phuttha Tamnan) - พุทธตำนาน [phuk 1-4]

Back to the list
Identification
Inv No: 
004_003_A
Bundles: 
11
Catalog No: 
TGC Wat Klang, Song, Phrae, No. 008.00
Category: 
Tamnan
Textual datas
Original titles (Thai script): 
ตำนานพระบาทแลธาตุ, ตำนานผูกต้น [phuk 1], ตำนานพระบาทแลธาตุเจ้า [phuk 2], พุทธตำนาน [phuk 3,4], พุทธตำนานพระบาทผูก 5, ตำนานพระบาทแลธาตุผูกถ้วน 6, ตำนานพระบาทผูก 7, ตำนานพระบาทแลธาตุผูกถ้วน 8, พุทธตำนานหลวงผูกถ้วน 9, ตำนานพระบาทแลธาตุผูกถ้วนสิบ, ตำนานพระเจ้าเลียบโลกผูก 11
Uniform Thai title: 
พุทธตำนาน [phuk 1-4]
Uniform title (transliterration): 
buddha taṃnān
Uniform title (transcription): 
Buddha Tamnan
Scribe Thai script: 
อินทนนภิกขุ [1]; สามเณรอินธิยศ [3]; ยาวิไชยสามเณร [5]; ธนันไชย [6]; มหาวันภิกขุ [7]; เทพรังสีภิกขุ [8]; ตนหน้อยธัมมขันภิกขุ [10]
Donator / sponsor (Thai script): 
อินทนนภิกขุ [1]; สามเณรอินธิยศ [3]; ยาวิไชยสามเณร [5]; มหาวันภิกขุ [7]; สาธุเจ้าเทพรังสีเป็นเจ้าศรัทธาใบลาน [8]; ตนหน้อยธัมมขันภิกขุ [10]
Era (text): 
?
Date (manuscript): 
1245
Era (manuscript): 
CS
Date (AD): 
1883
Calendar Thai script: 
Phuk 1: จุลศักราช 1245/4 ตัว [?] ปีเม็ด วันจันทร์ ยามตูดช้าย; phuk 3: จุลศักราช 1245 ตัว [พ.ศ. 2426] ปีก่าเม็ด เดือน 12 วันศุกร์ ยามกลองแลง; phuk 5: เดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ วัน 7 [เสาร์] ยามกลองแลง; phuk 9: ปีมะแม สนำกัมโพชพิสัย ไทยปีก่าเม็ด เดือน 12 แรม 5 ค่ำ วัน 6 [ศุกร์] ไทยเปิกยี ยามตะวันช้าย
Original repository (Thai script) / scribe place: 
วัดกลาง
Beginning and end: 
Phuk 1: a. นโม ตสฺสตฺถุ มหาการุณิโก นาโถ หิตาย สพฺพปารมี สพฺพา ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตมํติ สาธโว ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย
มหาการุณิโก นาโถ อันว่าพระพุทธเจ้าแห่งเราทั้งหลายตนประกอบด้วยมหากรุณาในสัตว์โลกทั้งหลายมากนัก ปูเรตฺวา ก็
พ่ำเพ็งแล้ว ปารมี สพฺพา ยังบารมีธรรมทั้งมวลอันได้ 30 ทัศ กับทั้งมหาบริจาคทานอันใหญ่ 5 ประการ กับทั้งจริยะ 3 ประ
การ กับทั้งสุจริตธรรม 3 ประการ เสี้ยงกาลอันนานได้ซาวอสงไขยปลายแสนมหากัป…
z. …ด้วยดั่งพระพุทธเจ้าหากทำนวายไว้นั้น พร้อมกับด้วยท้าวพระยาเสนาอำมาตย์แลชาวเมืองทั้งหลายมากนักแล้ว ก็
มาขุดขุมลึกได้ 7 วา ประจุธาตุไว้หื้อเป็นที่ไหว้แลบูชาแก่คนแลเทวดาทั้งหลายแลแท้แล ยังมีเทวดาตน 1 ชื่อว่าดาหัสสักกะ
เทวดาว่าอั้น ก็อยู่รักษาธาตุแลพระบาทเจ้าแล เทวดาตนนั้นหากเป็นหลานพระยาอโศกธรรมราชานั้น ครั้นท่านตายจาก
Phuk 2: a. นโม ตสฺสตฺถุ เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ สตฺถา ธรมาโน ชนปทจาริกํ จรมาโน ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย สตฺถา อันว่าสัพ-
พัญญูพระพุทธเจ้าตนเป็นครูแก่คนแลเทวดาทั้งหลายอันธรมานตั้งอยู่หื้อแล้วพุทธกิจ 5 ประการ เอกํ สมยํ ในกาลคาบ 1
พระพุทธเจ้าตนมีมหากรุณาก็เอาอรหันตากับทั้งมหาอานนท์เถรเจ้า แม้นพระยาอินทร์แลพระยาอโศกตนเป็นเจ้าในเมือง
กุสินารา ก็ไปเป็นอุบาสกแห่งพระพุทธเจ้า ก็จระเดินไปโผดสัตว์ทั้งหลายลำดับนิคมราชธานี…
z. …เหตุว่าทิศหนใด คนก็ไหลหลั่งเข้ามาบูชาธาตุเจ้ารุ่งเรืองงามมากนักหั้นแล เหตุดั่งอั้นอาจารย์เจ้าจึงขอดเป็นคาถา
ไว้ว่า สิงฺคุตฺตเร มโนรมฺเม กกุสนฺโธ สตฺถาวาโห ธมฺมกรณํ ฐาเปติ โกนาคมโน ธมฺมปชฺโชโต สุวณฺณทณฺฑํ ฐเปติ
กสฺสโป สิริสมฺปนฺโน สุวณฺณจีวรํ ฐเปติ โคตโม สากฺยปุงฺคโว โลกหิตาย อฏฺฐเกสญฺจ ฐเปติ จตฺตาโร เต มหาธาตุโย
อหํ วนฺทามิ สิรสา เตสํ เยว คุเณน สพฺพทุกฺขา ปมุญฺจิสฺสามิ ดังนี้ ไปไจ้ๆ ชู่วันชู่คืนไจ้ๆ ก็เที่ยงจักได้ถึงสุข 3 ประการ มี
นิพพานเป็นยอดบ่อย่าชะแล…
Phuk 3: a. นโม ตสฺสตฺถุ เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ สตฺถา ชนปทจาริกฺจรมาโน สาธโว ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย เอกํ สมยํ ยังมี
ในกาลคาบ 1 สตฺถา อันว่าสัพพัญญูพระพุทธเจ้าตนเป็นครูแก่คนแลเทวดาทั้งหลาย ก็บังเกิดมหากรุณามักใคร่สั่งสอน
โผดสัตว์โลกทั้งหลาย ก็เอาภิกขุสังฆะทั้งหลายแลอรหันตาทั้งหลาย มีมหาอานนทเถรเจ้าเป็นปัจฉาสมณะ กับทั้งพระยา
อินทาธิราชถือฉัตรกั้งภายบน ก็จระเดินเทสซึ่งอันจระเดินไปในชนบทราชธานี…
z. …เมื่อเทวดา อินทร์ พรหม ลงมาบูชามหาธาตุเจ้านั้น หากยินปรากฏรสหอมกลิ่นคันธะดอกไม้ของหอมอบรมทั้งมวล
ประการ 1 ปรากฏได้ยินเสียงตุริยนนตรีฆ้อง กลองเป็นต้น เหตุเขาเจ้ามาสงเสพบูชาธาตุเจ้านั้นแล บุคคลทั้งหลายอย่า
กระทำอนาทรอย่าเสียอันร้ายตกใกล้เขตน้ำบ่อที่นั้นบ่ดี เทวดาบ่พึงใจย่อมกระทำหื้อเป็นภัยแล บุคคลผู้ใดได้ไหว้แลบูชา
คารวะครบยำธาตุเจ้าดังกล่าวมานี้ ก็จักหื้อแล้วยังโลกียสุขในเมืองคนแลชั้นฟ้าตราบถึงนิพพานบ่อย่าชะแล…
Phuk 4: a. วนฺทิตฺวา สิรสา พุทฺธํ สทฺธมฺมํ คณุตฺตมํ อิทมฺปิ ปาทสารีริกธาตุกถํ วกฺขามีติ สาธโว ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ทีนี้
เราจักกล่าวตำนานพระบาทเจ้าแลสารีริกธาตุพระเจ้า อันมาถปันนาไว้ในเมืองทั้งหลายหื้อแจ้ง ผู้มีปัญญาพึงรู้ด่ังเราจัก
วิสัชนาไปหน้านี้เทอะ เอกํ สมยํ ยังมีในกาลคาบ 1 ในกาลเมื่อพระพุทธเจ้าได้เทศนา ได้ตรัสปัญญาสัพพัญญูเป็นพระ
แล้วเทศนาสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายไว้นานได้ซาว 5 วัสสา…
z. …ไผมาหันก็จักว่าดอยผาแรมชะแล แม่น้ำอันนี้ก็จักได้ชื่อว่า แม่น้ำพระเจ้ามานอนแรมหมื่นชะแล เมืองอันนี้ก็จักได้
ชื่อว่า เมืองพระเจ้ามานอนแรมหมื่นชะแล เมืองอันนี้คนใจบาปหาศีลหาบุญบ่ได้แลจักมาอยู่ก็บ่ได้ชะแล บ่วุฒิจำเริญแล
เหตุเทวดาอารักษ์บ่พึงใจนั้น จักกระทำหื้อเป็นอันตรายมากนักชะแล พระพุทธเจ้าทำนวายฉันนี้แล้ว ตกวันลุนรุ่งเช้า ก็
เสด็จไปสู่ทิศหนลวงงิมพู้นก็มีแล…
Phuk 5: a. นโม ตสฺสตฺถุ ตตฺร ภควา สิลายํ ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ภควา อันว่าพระพุทธเจ้าก็อยู่สำราญ
ในศิลาผาแรมที่นั้นตามกาลควรแล้ว ในวันเดือน 4 ออกค่ำ 1 ก็เสด็จออกจากผาแรมที่นั้นก็ไปรอดที่ 1 คนทั้งหลายก็มา
ไหว้แลบูชาพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า ภนฺเต ข้าแด่พระพุทธเจ้า ผู้ข้าทั้งหลายอยู่บ้านเล็กเมืองน้อยจักหาสังกินสังทานบ่
ได้แล น้ำก็บ่มีปลา ไร่นาก็บ่มีข้าว มักว่าบ่ได้ข้าว ไร้แลทุกข์ยากเข็ญใจหาสังกินสังบ่ได้…
z. …ครั้นมาถึงหาดผาคำที่นั้นหื้อไหว้แลสักการบูชาพระบาท แลบูชาพระยานาคแล้ว จึงไปดีมาดีชะแล ครั้นบ่บูชาก็บ่
พึงใจ เทวดาอารักษ์จักมักล่มเรือแพเสีย แม่นเทียวทางบกก็จักเป็นภัยอันตรายชะแล ผิว่ากระทำอนาทร ผิดอารักษ์ที่
นั้นแลบ่บูชาหื้อชอบหื้อดี แม่นไปเยียะสร้างไร่นาก็บ่สมริทธีเพื่ออารักษ์ไปบีบเบียนนั้นชะแล พระพุทธเจ้าก็ทำนวายพระ
บาทหาดน้ำผาคำ แลพระบาทผาสองรอย ไว้บ้านฝายบ้านเสี้ยวฉันนี้ก็มีแล…
Phuk 6: a. ตโต ภควา พฺยากรณมกาสิ จตฺตาโร เต วาณิชา นาวายํ อาสนํ ปญฺญาเปตฺวา ภควนฺตํ อภิรธายีติ ดูราโสตุชนะ
สัปปุริสะทั้งหลาย ภควา อันว่าพระพุทธเจ้าก็กระทำแล้วก็พร้อมกันราธนาพระพุทธเจ้าแลอรหันตาเจ้าขึ้นสำราญเหนือ
เรือที่นั้นแล้ว พระยาอินทร์มีมือถือเกิ้งกั้งตั้งอยู่ภายหลังพระพุทธเจ้าแลสาวกเจ้าก็นั่งแวดล้อมพร้อมพระพุทธเจ้าแล้วก็
ล่องเรือจอดถึงท่าน้ำที่นั้นแล้ว พ่อค้าก็ใช้ผู้ 1 เมือสัญญาคนทั้งหลายว่า…
z. …ส่วนว่าภัทรกัปอันนี้ก็ครึ่งในกาลยามนั้นแล มักว่าเป็นครึ่งภัทรกัปในกาลที่นั้นหั้นแล อธิบายยัตถาเทศนาก็มีดังนี้
แล พระพุทธเจ้าเทศนาแก่มหาอานนทเถระด้วยประการดังนี้แล มหาอานนทเถระตนเป็นอรหันตา แลพระยาอินทร์
พระยาอโศก แลเทวดา อารักษ์ทั้งหลายได้สดับรับฟังธรรมเทศนาอันนี้แล้ว ก็กระทำสาธุการซึ่งธรรมเทศนา แล้วก็บูชา
ตามปัญญาสติกำลังแห่งตนก็มีวันนั้นแล…
Phuk 7: a. นโม ตสฺสตฺถุ ปุนทิวเส ภควา ตตฺร ปิณฺฑาย จาริกํ ปตฺตจีวรมาทาย ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา สงฺฆาฏิจีวรํ ดูรา
สัปปุริสะทั้งหลาย ปุนทิวเส ในวันลุนน้ัน คืนในวันเดือน 5 ออกค่ำ 1 นั้น ภควา พระพุทธเจ้าก็ลุกในกาลเมื่อเช้า แล้วก็นุ่ง
คุมผ้าสังฆาฏิจีวร แล้วก็ถือเอาผ้าแลบาตรเพื่อจระเดินบิณฑบาตข้าว ก็จระเดินออกจากดอยถ้ำอันเป็นรูปช้างสารนั้นแล้ว
ก็จระเดินเข้าไปเอาข้าวบิณฑบาตด้วยลำดับเรือน ก็ไปถึงบ้านอัน 1 ชาวบ้านอันนั้นหัน…
z. …แล้วก็เสด็จไปสู่ด่านทัมมิละ ข่า ว้าทั้งมวลแล้วก็สั่งสอน เขาทั้งหลายก็บ่ฟังบ่ละมิจฉาเขาเสียได้ พระเจ้าสอนบ่ได้ก็
เสด็จจากด้าวทัมมิละ ข่า ว้า ไปรอดเมืองแช่ ก็มาไว้พระบาทเชียงผาแล้ว ก็มาไว้พระบาทแดนเมืองมางแล้วก็เสด็จออก
ไปจากเมืองมาง ไปเมตตาทัมมิละข่า ชาวดอยแล้ว ชนบทบ้านเมืองในเมืองเขมรัฐ คือ เชียงตุง คือ ละแวกแคว้นเมืองเขิน
ทั้งมวลชู่แห่ง ก็ย่ำรอยพระบาทไว้ยังพระบาทตามอันควรเพื่อหื้อเป็นที่ไหว้แลบูชาแก่คนแลเทวดาทั้งหลายก็มีแล…
Phuk 8: a. นโม ตสฺสตฺถุ โยนกโลกสฺมึ ภควา จาริกฺจรติ ดูราโสตุชนะสัปปุริสะทั้งหลาย พระพุทธเจ้าแห่งเราก็เอาอรหันตา แล
พระยาอินทา พระยาอโศกไปจระเดินโผดสัตว์แลคนทั้งหลายในเมืองเขมรัฐชู่แห่งแล้ว ก็เสด็จเข้ามาในละแวกแคว้นเมือง
โยนกโลก คือ เมือง(ยวน) ก็มีแล พระพุทธเจ้าก็เข้าไปถึงเมืองพยาก ก็ไปถึงแม่น้ำที่ 1 ชื่อว่าพยัคฆนที คือ แม่น้ำพยากแล
พระพุทธเจ้าสีฟันซ่วยหน้าแลนั่งอยู่ในที่นั้น ยังมีชาวทัมมิละผู้ 1 มันก็จระเดินไปป่า…
z. …คือจุฬกัสสปเถระน้อยเมือนิพพานในระหว่างดอยเมืองมิถิลา คือเมืองห้อ เมืองแส บัดนี้ตน 1 แล คืออัสสชิเถระแล
อตุลเถระ 2 ตนนี้นิพพานในดอยพระบาทผาน้อยเมืองลาที่หัวแคว้นลอ แล้วเอาใส่หีดผาแก้วไว้นั้น 1 แล พระยาอินทร์ก็
เมือพิจารณารักษาคราบมหาเถรเจ้าทั้ง 2 ในถ้ำพระบาทผาน้อยที่นั้นดีแล้ว ก็สยองไปลวงบนหนอากาศ ก็ไปเขิ็ดทันพระ
พุทธเจ้าที่ดอยเก้ิงเชียงใหม่ที่นี้เล่าก็มีวันนั้นแล…
Phuk 9: a. น ธาตุกถา ตตฺถ สตฺตาโห ภควา คนฺตฺวา อฺกรสฺมึ ปเทเส สมฺปตฺโต ภควา ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ภควา อัน
ว่าพระพุทธเจ้าก็อยู่ในดอยเกิ้งที่นั้นนานได้ 7 วันแล้ว ก็เสด็จลงมาจากจอมดอยที่นั้น ก็ไปตามราวป่าอัน 1 แล้ว ก็ลงสู่
แม่น้ำระมิงค์ คือว่าน้ำพิงค์นั้นแล้ว ก็เลียบไปด้วยฝั่งน้ำพิงค์ขึ้นเมือภายเหนือหมื่นวา 1 ก็มาพบลัวะผู้ 1 มันแปงหลุก
ควงผัดน้ำขึ้นใส่นาข้าวดอ คือนาเจียงลัวะผู้นั้นหันพระพุทธเจ้ามาที่นั้น…
z. …ก็จักพร้อมกันลงมาอุสสาราชาภิเษกเจ้าตนมีบุญนั้น หื้อเป็นพระยาธรรมิกราช หื้อได้เสวยทิพย์สมบัติในเวียงเชียง
ดาวที่นั้นแล้ว เทวดาทั้งหลายก็จักไปนำเอานางแก้วแต่อุดรกุรุทวีป เอามาหื้อเป็นบาทบริจาก หื้อเป็นอัครมเหสีเทวีแก่
ธรรมิกราชหมื่นชะแล กวางคำแลกระตายอันเป็นเทวนิมิตนั้น ก็มาปุจฉาซึ่งกันฉันนี้แล้ว ก็สั่งอำลากันแล้ว ต่างตนก็
ต่างหนีไปสู่ที่อยู่แห่งตนหมื่นชะแล พระพุทธเจ้าก็เทศนาทำนวายพระยายักขราชได้ฟังฉันนี้ก็มีวันนั้นแล…
Phuk 10: a. เอกํ สมยํ ภควา จาลีปพฺพเต วิหรนฺติ อถ เน สกฺโก นปเท เทโว วิทิตฺวา เตสํ ปุฺํ ปุจฺฉิตฺวา เทวโลเก กโต โอกริตฺวา
ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ปุจฺฉิ สุตารํ ดูราสัปปุริสะทั้งหลาย ยังมีในกาลคาบ 1 พระพุทธเจ้าก็อยู่สำราญเข้าวัสสาในดอย
จาลีบรรพตแต่พระพุทธเจ้าได้ตรัสปัญญาเป็นพระมาได้ซาววัสสานั้นแล อถ ในกาลเมื่อนั้น พระยาอินทาธิราชได้ยินธรรม
เทศนาพระพุทธเจ้าแล้ว ก็บ่รู้ว่ากระทำบุญในพุทธศาสนามีอานิสงส์มากนัก…
z. …เลิกศาสนาพระสัพพัญญูเรืองราบ ตั้งอยู่ตราบเมินนาน ยามปานกลางที่ครึ่งในที่กึ่ง 3 พันวัสสา สืบปรัมปราแต่เค้า
ตราบต่อเท่าถึงที่ชุมนุมธาตุเป็นปริโยสานหมื่นชะแล สกฺโก เทวราชาปิ ปตฺวา จ ปน สคฺคกายํ อปฺปกฺกามีติ สกฺโก อัน
ว่าอินทาธิราชตนเป็นเจ้าแก่เทวดาทั้งหลาย ครั้นบอกกล่าวคำเท่านั้นแก่เจ้าฤษีตนชื่อ อินทาสมภาร ตนอยู่ดอยเขาหลวง
ในเมืองหริภุญชัยนครนั้นแล้ว ก็เสด็จขึ้นเมือสู่ชั้นฟ้าแก้วอันเป็นที่อยู่แห่งตนก็มีวันนั้นแล…
Phuk 11: a. นโม ตสฺสตฺถุ จวิตฺวาน ตโต กายามาตฏฐปฏิสนฺธิ ปจฺฉิ คเหตฺวา มหามายาย เทวิยาย กุจฺฉิมฺหิ ดูราสัปปุริสะทั้ง
หลาย พระพุทธเจ้าแห่งเรา ครั้นจุติจากชั้นฟ้าดุสิตสวรรค์เทวโลกแล้ว ก็ลงมาเอาปฏิสนธิในท้องนางศรีมหามายาเทวี
ในปีก่าเร้า เดือน 9 เพ็ง ฤกษ์ได้ 20 ตัว อยู่ในท้องแม่นานได้สิบเดือนแล้ว ก็ประสูติออกมาจากท้องแม่ในปีกาบเส็ด เดือน
วิสาขาเพ็ง คือ เดือน 8 เพ็ง เม็งวัน 4 ฤกษ์ ได้ 11 ตัว ศักราชได้ 43 ตัว…
z. …คนแลเทวดาทั้งหลายชะแล แม้นบุญสมภารแก่กล้าก็จักนิพพานในศาสนาพระพุทธเจ้าโคตมะเรานี้ดีหลีแล แม้นบุญ
สมภารบ่กล้าบ่แก่ยังท่วนเทียวไปมาในวัฏสงสาร ก็บ่ได้ไปเกิดในอบายทั้ง 4 สักคาบตราบได้หันหน้าพระอริยเมตเตยยเจ้า
แล้ว ก็จักได้ถึงมรรคผลธรรมวิเศษมีประเภทว่า โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตผล ตามบุญสมภารแห่งตนอันได้กตาธิการ
มาแต่ก่อนแล้ว ก็จักบอรมวรในสำนักพระพุทธเจ้าตนชื่อเมตเตยยะนั้นแท้ บ่สงสัยชะแล…
Foliation / pagination: 
Phuk 1: 1A-15A (Northern Thai figures) 1-15; phuk 2: 1B-20B (alphabetical order in Northern Thai) 1B ?, 2B-3B อ ต้น-อา, 4B ?, 5B-9B อี-โอ, 10B-20B ก-ฏ ปลาย สุด, 3B (Northern Thai figures) 3B 2 ; phuk 3: 1B-17B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B อ-โอ, 9B-17B ก-ซ ปลาย, 1B-2B (Northern Thai figures) 1B-2B 1-2; phuk 4: 1B-17B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B อ-โอ, 9B-10B ก-ข, 11B-17B อ ต้น-เอ; phuk 5: 1A-18A (alphabetical order in Northern Thai) 1A-8A อ-โอ, 9A-18A ก-ญ; phuk 6: 1B-21B (alphabetical order in Northern Thai) 1Bก, 7B-19B ก-ฐ, 20B ติ ริ นิ, 21 จิ ฌิ สิ; 1B-6B (Northern Thai) 1-6; phuk 7: 1B-22B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B อ ต้น-โอ, 9B-22B ก-ฒ ปลาย, 5B-21B (Northern Thai figures) 5-21; phuk 8: 1B-18B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-8B อ-โอ, 9B-18B ก-ญ; 4B (Northern Thai figures) 4; phuk 9: 1B-22B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-12B ต ต้น-ต ปลาย, 13B-22B ถ ต้น-เถา, 2B (Northern Thai figures) 2; phuk 10: 1B-18B (Northern Thai figures) 1B 1, 2B 2 สอง, 3B 3 สาม, 4B 4 สี่, 5B 5, 6B 6 หก, 7B 7 เจ็ด, 8B 8 แปด,10B 10 สิบ, 11B 11 สิบเอ็ด, 12B 12 สิบสอง, 13B 13 สิบสาม, 14B 14, 15B 15, 16B 16 สิบหก, 17B 17, 18B 18; phuk 11: 1B-19B (alphabetical order in Northern Thai) 1B-12B ช ต้น-ปลาย ช, 13B-19B ซ ต้น-เซ.